ความต้องการเบื้องต้น
ในช่วงสายไปจนถึงบ่าย แดดที่สาดลงมาบนดาดฟ้านั้นร้อนเกินกว่าจะอยู่ได้นาน โดยเฉพาะสำหรับคนสวนที่ต้องทำงานกลางแจ้งทั้งวัน หรือแม้แต่คนที่ขึ้นมาออกกำลังกายและต้องการที่นั่งพักหายใจสักครู่ จึงเป็นที่มาของโปรเจกต์เล็ก ๆ นี้ —“พื้นที่สำหรับหลบแดด นั่งพัก และอยู่ร่วมกับธรรมชาติบน Green Roof Urban Farm”
แนวคิดการออกแบบ
ถอดรูปแบบมาจากองค์ประกอบงานภูมิสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่ โดยหลังคาได้นำรูปวงรีและเส้น Curve ของพื้นแปรเปลี่ยนจากพื้นที่อเนกประสงค์บนดาดฟ้าให้กลายมาเป็นส่วนปกคลุมสร้างร่มเงา ตัวเสาและโครงสร้างรับจันทันได้แรงบันดาลใจจากองค์ประกอบราวกันตกรอบอาคาร ซึ่งช่วยให้ตัวศาลาดูเบา โปร่ง และเปิดให้ลมธรรมชาติไหลผ่านได้ดี โดยเฉพาะในวันที่มีลมแรง การออกแบบที่ไม่มีผนังและไม่ยกสูงจนเกินไปจึงช่วยลดแรงปะทะจากลม ทำให้ใช้งานได้อย่างสบายตลอดวัน
ลักษณะเด่นของโครงสร้าง
เป็นโครงสร้างที่ถูกจัดเตรียมให้เป็น Pre-fab เพื่อให้สะดวกรวดเร็วในการติดตั้งชิ้นงาน
เนื่องจากสภาพพื้นที่ทำงานมีข้อจำกัดทางด้านพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถนำวัสดุในปริมาณ
มากๆเข้าไปสู่พื้นที่ติดตั้งได้ทั้งหมด จึงต้องจัดเตรียมโครงสร้างแยกเป็นส่วนๆจากพื้นที่
ที่สะดวกและทำการขนย้ายส่วนประกอบต่างๆไปติดตั้งที่หน้างานจริงในท้ายที่สุดพร้อม
ทั้งเก็บงานและเพิ่มเติมรายละเอียดส่วนที่จำเป็น
เป็นโครงสร้างเชิงทดลองวัสดุและนวัตกรรมการก่อสร้าง ในเรื่องของการใช้
ไผ่ลำ” ขนาดไม่เกิน 3 นิ้ว เป็นวัสดุหลัก เพราะมีความคงทนสวยงาม หาง่าย
รับแรงได้ดี และยังสอดคล้องกับน้ำหนักที่ดาดฟ้ารองรับได้ ในส่วนที่ต้องการ
ความแข็งแรงมากขึ้น และการเสริมเหล็กเข้าไปเพื่อให้ไผ่ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
ลักษณะการมุงหลังคาไผ่สับฟากประเภทเหลื่อมซ้อนชั้นด้วยเหตุผลในเรื่องการบริหาร
จัดการวัดดุ และจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้อาคารที่ดูสวยงามคุ้มค่าและ
สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มความทนน้ำรั่วซึมได้ด้วย
แผ่นยางกันน้ำระหว่างไผ่สับฟากในแต่ละชั้นได้เพื่อยืดอายุการใช้งานของวัสดุ
อธิบายเพิ่มเติมในส่วนของทีมงาน
เรารู้จักไผ่อย่างแท้จริงในตอนเรียนสถาปัตย์ เป็นบทเรียนที่ค่อย ๆ ซึมเข้ามาตลอดทั้งเทอม ตั้งแต่การเรียนรู้เรื่องสายพันธุ์ การนำไปใช้งาน การถนอมไผ่ ทฤษฎีการออกแบบโดยใช้ไผ่ ไปจนถึงการรับรู้วัสดุจริง ผ่านการดัด มัด เจาะ ฯลฯ การทำแบบจำลองและสร้างอาคารจริงในโปรเจกต์จบของรายวิชา
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้วัสดุ แต่มันคือการใช้ชีวิตอยู่
กับไผ่ในช่วงหนึ่งของชีวิต
งาน The Living Rooftop พาเรากลับไปสัมผัสความรู้เหล่านั้นอีกครั้งในฐานะใหม่ ไม่ใช่นักศึกษาแต่เป็นผู้ออกแบบและรับผิดชอบการก่อสร้างจริง โปรเจกต์นี้คือพื้นที่พักพิง
ชั่วคราวเล็ก ๆ บนดาดฟ้าสำหรับพนักงานจัดสวน เป็นความท้าทายอีกงานที่มาพร้อมข้อจำกัดมากขึ้นทั้ง สภาพพื้นที่ ระยะเวลา งบประมาณ และแรงงาน
ในท้ายที่สุดโครงสร้างจึงออกมาดูเรียบง่าย โปร่งโล่ง เปิดรับลมธรรมชาติและไม่ข่มตัวอาคารเดิมในพื้นที่ โครงสร้างนี้ไม่ได้เป็นแค่ที่พักพิงชั่วคราว แต่คือการทำงานกับธรรมชาติด้วยความเคารพ และส่งต่อความเข้าใจที่เรามีต่อวัสดุที่เราเคยใช้ชีวิตอยู่ด้วย
Basic Requirements
During the late morning to afternoon hours, the sunlight beating down on the rooftop becomes too intense to stay for long—especially for gardeners who work outdoors all day or for those coming up for exercise who simply need a place to rest and catch their breath. This small project was born from that need:
“A shaded area for resting and connecting with nature atop the Green Roof Urban Farm.”
Design Concept
The design draws inspiration from the existing landscape architectural elements.
The roof adopts the elliptical shapes and curves found in the original multipurpose rooftop design, transforming them into a canopy that provides shade.
The columns and rafters take cues from the building’s perimeter guardrails, creating a lightweight, airy structure that allows natural breezes to flow through, particularly on windy days.
The open design, free from walls and without excessive height, minimizes wind resistance, ensuring comfortable use throughout the day.
Key Structural Features
Prefabricated System:
The structure is prepared as prefabricated components to enable quick installation. Due to the limited working space on-site, it is impractical to transport large quantities of materials directly to the rooftop.
Instead, components are pre-assembled offsite and transported piece by piece for final assembly and finishing onsite.
Material and Construction Innovation:
This project explores the use of bamboo poles (no larger than 3 inches in diameter) as the primary material—chosen for their durability, beauty, availability, and high strength-to-weight ratio, which suits the rooftop’s load capacity.
In areas requiring additional strength, steel reinforcements are discreetly integrated to maximize bamboo’s performance.
Layered Bamboo Roofing:
The roof features a layered overlapping bamboo split system, selected to optimize material usage and budget without sacrificing aesthetics or user needs.
Additionally, waterproofing membranes are inserted between bamboo layers to enhance water resistance and prolong the structure’s lifespan.
Additional Notes on the Team’s Background
Our deep familiarity with bamboo began during our architectural studies.
Over a semester, we immersed ourselves in everything bamboo—from understanding species, preservation, and design theory,
to hands-on material experience such as bending, tying, and drilling.
We created models and built full-scale structures for final projects, living closely with the material.
This was not just technical learning—it was a way of living with bamboo.
The Living Rooftop project rekindled those experiences, this time not as students,
but as designers and builders with full responsibility.
It is a small, temporary shelter for rooftop gardening staff, facing challenges of limited space, strict timelines, tight budgets, and limited manpower.
Ultimately, the structure emerged as a simple, lightweight, and breathable design,
harmonizing with the existing architecture.
It stands not just as a temporary shelter,
but as a testament to working with nature with respect—
and a continuation of our understanding of a material we once lived so closely with.